ตอบความคิดเห็นของพี่ IKKE ในเรื่อง ความสับสนของสังคมไทยตอน 1
ตอนแรกว่าจะตอบใน comment แต่เขียนแล้วมันยาว เลยเอามาลงเลยดีกว่า จะอ่านง่ายกว่า
พี่ IKKE ครับขอบคุณสำหรับความคิดเห็นดีๆ นะครับ :-)
ผมขอขยายความความคิดผมเพิ่ม (แก้ไขเพิ่มเติม 20070403)
ผมเชื่อว่าสภาพแวดล้อมต่างๆกันทำให้เกิดความเสียสละต่างกัน... ซึ่งสิ่งที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของความเสียสละหรือการร่วมมือโดยส่วนรวมนั้น ต้องมีอย่างน้อย 2 อย่างคือ ปัจจัยพื้นฐานและความเป็นอิศระเสรีต่อการดำรงชีวิต กับสิทธิ์การรับทราบข้อมูลอย่างเท่าเทียม
ที่บอกว่าอย่างน้อยเพราะผมนึกออกเพียงสองข้อ แต่เข้าใจว่าน่าจะต้องมีอย่างอื่นที่มองไม่เห็นประกอบเพิ่มอีก...
ก.) ความจำเป็นที่จะต้องมีปัจจัยพื้นฐานและเสรีในการดำรงชีวิตนั้นเป็นพื้นฐานต่อการดำรงตน จะรวมตั้งแต่ปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ เช่นการมีสิทธิที่จะสามารถเลือกทำงานตามความต้องการของตนได้ สิทธิที่จะออกจากที่ทำงานได้ถ้าไม่ต้องการ สิทธิในการออกความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งถ้าสิ่งข้างต้นลดลงไปแล้วนั้น จะทำให้เกิดการปกป้อง เห็นแก่ตัวตนและชีวิตของตนเองสูงขึ้น โดยที่การเสียสละต่อส่วนรวมจะลดลงอย่างสัมพันธ์กัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอัตราเท่ากัน ในกรณีนี้ชีวิตทาสก็เช่นกัน ด้วยสถาณการณ์ที่จะต้องทำงานตามคำสั่ง ขาดซึ่งอิศระเสรีภาพต่อการดำรงตน ขาดความมั่นใจในชีวิตตนว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ ทำให้จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการมีชีวิตอยู่ของตนก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าทาสร้อยคนจะเป็นดังที่คาดทุกคน จะมีเป็นกรณีพิเศษบ้างในกลุ่มที่เชื่อในบางสิ่งเหนือชีวิตตน เช่น เทพเจ้า ลัทธิ อุดมการณ์ หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก
ข.) สิทธิเสรีในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียม การเสียสละจะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีเสรีในการที่จะทราบถึงเหตุที่จะต้องทำการเสียสละก่อน เช่น ขัดสน อดอยาก ขาดแคลน ในกรณีของซาดองโยที่ได้รับทราบข้อมูล ความรู้ มาก่อนหน้านี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าเขื่อนอาจจะพังทลายลงมาได้ ถ้าสร้างไม่ถูกวิธีนั้น ทำให้เขาเลือกที่จะเตือนไปยังองค์หญิง ซึ่งต่างกับทาสคนอื่นที่ไม่ทราบถึงข้อมูลตรงนี้ แต่ในกรณีของการแจ้งข้อมูลไปยังทาสคนอื่น เพื่อก่อให้เกิดความเสียสละ แต่ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดได้ เพราะในสถาณการณ์ของการเป็นทาสที่ขาดสิทธิการดำรงตนไปแล้วนั้น จะไม่เอื้ออำนวยต่อการรับสารที่ทำให้เขาต้องมีชีวิตลำบากขึ้นแน่นอน ซึ่งต่างกับซาดองโยที่ผมคาดว่าเขามีความรู้พวกนี้ตั้งแต่ก่อนเป็นทาสทำงานสร้างเขื่อน
ถ้ามองในแง่ร้าย ซาดองโยเองก็คงไม่อยากสร้างเขื่อนและไม่อยากตายถ้าเขื่อนพังทลายลงมา จึงจำเป็นต้องบอกองค์หญิงว่าเขื่อนอาจจะพังได้ถ้ายังดันทุรังสร้างต่อไป
ผมเชื่อเหมือนพี่ IKKE ว่าการเสียสละส่วนใหญ่นั้นเป็นการเสียสละที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะต่างหวังผลตอบแทน ตามหลักของเศรษฐศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าเป็น Dismal science หรือศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง เพราะยืนยันว่าทุกอย่างมีต้นทุน จะได้อะไรมาต้องเอาบางสิ่งหรือหลายสิ่งไปแลกเสมอ แต่ผมเชื่อในกรณีของสังคมเมืองหรือสังคมขนาดใหญ่ครับ
จากสิ่งที่ผมได้รับมาเวลาเดินทางไปเที่ยวตามชนบท ทำให้ผมยังเชื่อว่ายังมีสังคมที่มีการเสียสละที่บริสุทธิ์อยู่ในโลก และเมื่อคนไม่ได้เป็นสัตว์เศรษฐกิจทุกคน สังคมที่ไม่ได้เป็นสังคมสัตว์เศรษฐกิจก็น่าจะมีอยู่บ้าง ทั้งนี้สังคมนั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 อย่างข้างต้น
โดยถ้าวิเคราะห์ความเสียสละแบบแบบไม่บริสุทธิ์ จะเห็นได้ว่าค่อนข้างอ่อนไหว เสียหายง่ายมาก ถ้าต้นทุนที่ต้องจ่ายไม่คุ้มกับผลที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่น การต่อแถวขึ้นรถไฟฟ้าถ้าทุกคนต่อแถวหมด ซึ่งถือว่าเป็นการเสียสละต่างตอบแทนเช่นกันเพราะเขาเสียสละที่จะไม่แซงคิวเพื่อที่จะได้รับอันดับเข้ารถอย่างสมควร แต่ถ้ามีอยู่คนหนึ่งแทรกแถวเข้าไปก่อน มันง่ายมากที่จะทำให้คนต่อแถวอยู่ข้างหลังที่เขาคิดว่าการเสียสละไม่คุ้มกับอันดับที่จะเข้ารถแถมยังถูกแซงอีก ซึ่งเขาอาจจะไม่ได้นั่ง ทำให้เขาตัดสินใจแทรกตามไปด้วย
ดังนั้นถ้าเราต้องการจะให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เราจำเป็นที่จะต้องมีกระแสสังคมคอยบังคับให้เกิดความเป็นระเบียบ เช่น การตักเตือน หรือการสั่งสอน หรืออาจรุนแรงกว่านั้น เพื่อทำให้รายจ่ายที่เขาต้องได้รับถ้าต้องการจะแซงสูงขึ้น เมื่อรายจ่ายสูงขึ้นการจัดสินใจแซงก็จะลดลง
สังคมไทยในตัวเมืองนั้นพัฒนามาจากสังคมชนบทในสมัยก่อน ดังนั้นการเสียสละแบบบริสุทธิ์ตามแบบของสังคมชนบทที่ผมเชื่อ จึงผสมกับการเสียสละแบบไม่บริสุทธ์ของสังคมเมืองสมัยใหม่ที่ก้าวเข้ามา ทำให้สังคมไทยยังคงเป็นสังคมที่ผสมของความเสียสละ ยังให้เกิดความสับสนของคนในสังคม หรือไม่ผมก็สับสนของผมคนเดียว ;-)
โดยพื้นฐานแล้วผมไม่คิดว่าโลกเราจะมองได้เหมือนเหรียญที่มองได้เพียงสองหน้า ...โลกเรามันกลมนะครับ... แม้ว่าจะมีคนออกมาประกาศว่า The world is flat ก็ตาม :-)
อ้างอิง
1.) ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง :วรากรณ์ สามโกเศศ:สำนักพิมพ์มติชน มีนาคม ๒๕๕o
ดวง
20070401 10:06
Sunday, April 1, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
ก่อนอื่นต้องสารภาพกันสักนิดก่อนว่า ตั้งแต่วันนี้ที่คุณส่งมาให้อ่าน ก็ได้แค่ดูผ่าน ๆ เพิ่งจะมีเวลามาอ่านอย่างจริงจังก็วันนี้แล
อีกอย่าง เป็นคนที่ไม่ค่อยมีความรู้ในศาสตร์ทางด้านสังคมวิทยา หรือเศรษฐศาสตร์เท่าไหร่นัก อาศัยว่ากูรูด้านไหนว่าอย่างไร ก็แค่นั่งคิดว่าจะเออออตามเขาไปดีหรือไม่ ก็เท่านั้น
เห็นคุยกันเรื่อง "เสียสละ" แล้วดูน่าสนุกและเก๋ เท่ห์ไม่หยอก
ที่เท่ห์ และเก๋ เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครนิยมคุยกันเรื่องทำนองนี้สักเท่าไหร่ หรืออาจจะมีคุยบ้าง แต่เสียงคงจะเบาไปนิด
ส่วนที่ว่าน่าสนุกก็คือ เป็นเรื่องที่ชวนให้คิด ชวนให้ขบ หรือจะเลยไปถึงจิก กัด ฟัด ตี กันได้ไม่น้อย
ระหว่างที่อ่าน comment ของทั้งเจ้าของ blog และ commentator ท่านอื่น ๆ ไป ก็พยายามหาความหมายที่แท้จริงของคำว่า "เสียสละ" ไปพร้อม ๆ กัน
จากความหมายที่ได้มา ทั้งคำไทยและคำเทศ ทำให้รู้ว่าคำว่า "เสียสละ" นั้นช่างดูยิ่งใหญ่เสียนี่กระไร....
แถมตัวอย่า่งที่พจนานุกรมให้ไว้ ดันเป็นการเสียสละโดยหวังผลตอบแทนเสียด้วย.... "ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเสียสละชายพระอาณาเขตส่วนน้อย เพื่อแลกกับอิสรภาพของชาติไว้"
อืม...
ตัวอย่างข้างบนเป็นการเสียสละโดยหวังผลตอบแทนแบบปฏิเสธไม่ได้ แต่ทว่าผลตอบแทนที่ว่านั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่เอาเปรียบผู้ใด หนำซ้ำยังสร้างประโยชน์คุณูประการอีก
เอาล่ะสิทีนี้ เสียสละ หวังหรือไม่หวังประโยชน์กันดี
มีเวลาเท่านั้น แปะไว้ก่อนนะ เดี๋ยวจะมาต่ออีกที
ขอบคุณสำหรับอีกมุมนึง (กำลังรอตอนต่อไปอยู่นะ)...
หลายๆครั้งสิ่งที่เกี่ยวพันกับเราอยู่ตลอดเวลา เรามักไม่ได้ที่จะสนใจหรือเข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร มีผลกระทบอะไรต่อเราและสังคม
ดังนั้นมันคงจะดีไม่น้อย ที่เราจะเข้าใจมันบ้างแม้จะไม่หมดก็ตาม หรือไม่ที่เราพยายามที่จะเข้าใจเราอาจไม่เข้าใจมันได้ถูกต้องเลยก็ตาม
เหมือนตาบอดคลำช้างครับ ช้างเป็นอย่างไรเราไม่รู้ แต่ผมว่าระหว่างตาบอดที่คลำช้าง กับตาบอดที่ใช้ชีวิตอยู่โดยเพียงแค่รู้ว่ามีช้างแต่ไม่รู้ว่าช้างเป็นอย่างไร มันต่างกันนะครับ
วันดีคืนดี ตาบอดที่คลำช้าง อาจจะสามารถขี่ช้างเพื่อช่วยทำงานเพื่อสังคมก็เป็นได้...
Post a Comment