Saturday, March 24, 2007

ความสับสนของสังคมไทย ตอน 1

"เสียสละ"

ตอนผมเพิ่งจบใหม่ๆนั้น ผมก็เหมือนคนอื่นตรงที่มีการกำหนดลักษณะของบริษัทที่อยากจะทำงานด้วย
ซึ่งแต่ละคนจะมีโอกาศที่จะได้บริษัทที่ตัวเองต้องการหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติของผู้ที่สมัครงานเป็นหลัก
บวกด้วยโชคเป็นตัวช่วยเสริม...

สำหรับลักษณะของบริษัทที่ผมต้องการจะทำงานด้วยนั้น เท่าที่พอจำได้ผมกำหนดไว้ว่า
ต้องเป็นบริษัทต่างชาติ และเป็นบริษัทขนาดกลางหรือเล็ก
ที่ผมเลือกว่าจะทำงานบริษัทต่างชาตินั้น ไม่ใช่เหตุผลของผลตอบแทนหรือการนำชื่อเสียงไปใช้สมัครงานต่อที่อื่นแต่อย่างใด
ผมเพียงต้องการตอบสนองความอยากรู้ อยากเห็นและตอบข้อสงสัยที่มีมานานเท่านั้นเองว่า
ทำไมประเทศเราจึงสู้เขาไม่ได้ อะไรเป็นปัจจัย ความคิดของเค้ากับของเราต่างกันตรงใหน
ส่วนประเด็นของบริษัทขนาดกลางหรือเล็กที่ผมตั้งไว้นั้น ก็เป็นการสนองตัญหาของผมเช่นเดียวกัน
คือผมอยากเห็นแนวทางการเจริญเติบโต ว่าถ้าบริษัทที่กำลังขยายตัวนั้นต้องทำอย่างไร
ประเด็นหลังนี้เสี่ยงพอสมควรเพราะ ผมไม่อาจทราบได้ว่าบริษัทที่ผมจะเข้าไปทำงานนั้น จะเป็นบริษัทที่กำลังจะขยายหรือบริษัทที่กำลังเจ๊ง ซึ่งสรุปมาว่าผมค่อนข้างโชคดีที่เป็นอย่างที่ผมต้องการ

บริษัทที่ผมทำงานนั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นครับ ซึ่งหลังจากทำงานมาได้พอสมควรทำให้ผมทราบว่า
เขาขยัน จริงจัง ทำงานเป็นระบบ และมองมุมกว้างกว่าเรามาก โดยลักษณะอย่างนี้อยู่ในคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่
แต่อย่างว่าครับไม่มีประเทศใหนเก่งทุกคน ซึ่งคนของเขาก็มีห่วยๆบ้าง
แต่ประเด็นสำคัญที่ผมว่าเป็นตัวที่ทำให้ประเทศเขาพัฒนาไปได้เร็ว คือคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทหรือประเทศเขามาก่อนประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งเขาจะให้ความร่วมมือตามนโยบายเสมอแม้บางทีจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

สิ่งที่ผมได้รับรู้ทำให้ผมอดคิดด่อไม่ได้ว่า อะไรที่ทำให้เรา(คนไทย) เป็นอย่างทุกวันนี้
เราอาจจะเคยได้ยินสิ่งที่ผู้ใหญ่สอนสั่งว่า ตั้งใจเรียนเข้านะลูกจะได้เป็นเจ้าคนนายคน
เรียนให้เก่งๆจะได้มีชีวิตที่ดีๆ แต่ผมไม่เคยได้ยินคำสอนในแนวว่า ตั้งใจเรียนนะจะได้ช่วยกันพัฒนาประเทศ
หรือเรียนให้เก่งๆจะได้ไปช่วยเหลือคนที่ยากจนกว่า
เราขาดการสั่งสอนให้ทำอะไรเพื่อสังคมหรือเปล่า??
เราพอใจเพียงแค่จะให้ตัวเองมีความสุข มีเงินทอง มีชื่อเสียง เท่านั้นหรือ???
และเราขาดการมองอย่างองค์รวมที่ว่า ทุกคนมีส่วนที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อกันและกัน
เราๆ ท่านๆ ก็เห็นกันอยู่ว่าการทรุดโทรมของสังคมชนบทนั้นเกิดผลกระทบต่อประเทศเพียงใด
และเราก็เห็นแล้วว่าเมื่อประเทศเราเซ มีผลกระทบต่อประเทศอื่นอย่างไรในวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง
แต่ไม่เห็นจะมีชนชั้นปกครองผู้ใดมีทีท่าตระหนักถึงต้นตอสาเหตุเลย
ผมว่าเราพอที่จะเริ่มเปลี่ยนทัศนะคติของเราได้ ที่จะให้ความสำคัญกับการมองและทำเพื่อส่วนรวมกันมากขึ้น
ลำพังไอ้นโยบายภาครัฐที่ออกมาเรียกร้องการเสียสละจากประชาชนไม่พอหรอกครับ ถ้าพื้นฐานของความคิดหรือทัศนคติหลักไม่ได้มีคำว่าเสียสละประกอบอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะเป็นเพียงความเสียสละแบบชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นเอง ตราบใดที่เรายังไม่ส่งเสริมปลูกฝังกันอย่างจริงๆจังๆ

ช่วงสึนามิต่างชาติออกมาชื่นชมความเสียสละของคนไทยที่ร่วมกันบริจาคเงิน สิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
แต่ผมก็ยังคงเห็นผู้บริจาคเหล่านั้น ยังคงแย่งกันขึ้นรถลงเรือ ขัดแข้งขัดขา อิจฉา แบ่งพรรคแบ่งพวกกันอยู่
แล้วมันจะมีประโยชน์อันใดครับ ถามหน่อย...


ดวง
20070324 2:53

2 comments:

ikke said...

ซอดองโยถูกเนรเทศไปเทศทาสที่นอกเมืองเพื่อไปสร้างเขื่อนซึ่งเป็นโยบายที่ซอดองเขียนขึ้นมาเอง มีทาสจำนวนมากได้รับความลำบากยากแค้นในการสร้างเขื่อน พวกเขาต้องแบกหิน ถมทราย อาบเหงื่อต่างน้ำ บางครั้งก็ถูกหินหล่นทับ บ้างก็พิการ หรือเสียชีวิต นอกจากนี้ การทำงานในช่วงหน้าหนาวทำให้มือมีเลือดไหลซิบ ๆ ซอดองทำได้แต่เพียงชี้ว่า การสร้างเขื่อนไม่ถูกหลักวิศวกรรม ถ้าฝืนทำต่อไปก็จะทำให้เขื่อนพังลงมาได้ และได้ร้องเรียนให้องค์หญิงในฐานะหัวหน้าคนงานสร้างเขื่อนรื้อให้สร้างใหม่ทั้งหมด ซึ่งทำให้คนงานไม่พอใจเป็นอย่างมากและตัดสินใจทำร้ายซอดองโย ซอดองถึงขั้นหมดกำลังใจและมองว่าเหล่าทาสไม่ยอมเสียสละเพื่อคนส่วนมากเลย ในขณะที่องค์หญิงมีมุมมองแบบเจ้าในวังที่ไม่เคยลำบากและมองว่าถ้าทาสคนไหนไม่เชื่อฟังก็ต้องลงโทษ หน้าที่ของทาสจะต้องทำตามคำสั่งอยู่แล้ว

ท้ายสุดซอดองเข้าถึงจิตใจของทาสว่า การสร้างเขื่อนแม้จะเป็นโยบายที่ดูดี จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการชลประทานซึ่งส่งผลดีต่อการเกษตร แต่พวกเขาไม่มีความหวังใด ๆ จากเขื่อนนี้ ในฐานะทาสที่ได้แต่ทำตามคำสั่งและใช้แรงงานตามคำสั่งนั้นแต่พวกเขาก็ต้องการความหวังในชีวิตเช่นกัน เจ้าหญิงกับซอดองมีความหวังว่า ถ้าสร้างเขื่อนเสร็จตามกำหนดก็จะได้กลับเมืองหลวงไปเสวยสุขตามเดิม แต่พวกทาสก็ยังคงต้องใช้แรงงานอยู่ต่อไป เมื่อซอดองเข้าใจดังนั้นจึงตัดสินใจยกเลิกการสร้างเขื่อนแม้จะทำให้ตนเองต้องเป็นทาสอยู่ต่อไปก็ตาม เหล่าทาสก็ยินดียิ่งที่ได้กลับไปทำงานในเหมืองเหมือนเคย ในเหมืองพวกทาสกลับมีความหวังมากกว่าการสร้างเขื่อน เพราะในเหมืองพวกเขาอาจจะขโมยทองชิ้นเล็ก ๆ แล้วซ่อนไว้ใต้ดินเพื่อว่าวันหนึ่งพวกเขาหลุดจากการเป็นทาสจะใช้มันเป็นทุนรอนในการดำรงชีวิตที่ดีอีกต่อไป

ความเสียสละในฐานะประชาชนจึงไม่ได้มองว่าเป็นการเสียสละใด ๆ แต่พวกเขามองถึงผลประโยชน์ต่างตอบแทนมากกว่า โลกนี้จึงไม่น่าจะมีการเสียสละอย่างบริสุทธิ์สำหรับคนส่วนใหญ่นะ สังคมไทยจึงไม่ได้สับสน แต่สังคมไทยเข้าใจความเป็นสังคมไทยอย่างลึกซึ้งจึงทำอย่างที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ การบริจาคสิ่งของในช่วงทสึนามิคือจริตของคนไทยในการเห็นคนที่อ่อนแอกว่า โดยผลประโยชน์ตอบแทนคือความรู้สึกของการเหนือกว่า (จากการไม่ต้องประสบกับชะตากรรม), การเห็นฝรั่งหรือคนต่างชาติใด ๆ ประสบเคราะห์กรรมซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยไม่ค่อยได้เห็นอย่างใกล้ชิด การได้ช่วยจึงเป็นสภาวะของเราที่เหนือกว่าหรืออย่างน้อยก็เสมอกับฝรั่งที่เรามองว่าอยู่เหนือกว่าเราเสมอมา

ในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่เก็บค่าน้ำประปา แต่ยามใดที่คนต่างชาติอย่างเรา ๆ เปิดน้ำใช้อย่างมันมือ หรือลืมปิดน้ำ คนออสซี่ท้องถิ่นจะเตือนหรือบอกเสมอทำนองว่า แม้น้ำจะฟรี แต่ก็ต้องใช้อย่างประหยัด หะแรกเราก็นึกไปว่าพวกเขาช่างมีสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมเหลือคณานับ แต่จริง ๆ แล้ว พวกเขาเผชิญกับสภาพแล้งและไม่มีน้ำใช้บ่อยครั้ง ทำให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาจะเจอปัญหา จึงต้องรักษาผลประโยชน์นั้นไว้ โดยเฉพาะคนต่างชาติที่เข้ามาใช้ทรัพยากรของพวกเขา พวกเขาจึงไม่รีรอที่จะเตือนสติเสมอ

ความเสียสละจึงต้องประกอบด้วยการรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวไปด้วยอย่างเนียน ๆ

Anonymous said...

เสียสละที่นั่งบนรถเมล์..
เค้าคิดจะได้ไรอ่ะ ...


 
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Thailand License.