Tuesday, April 24, 2007

ไออุ่นลาวใต้ ตอน 7

อุบล #2

ก่อนเดินทางครั้งนี้นั้นนอกจากข้อมูลที่หาทางอินเตอร์เนตแล้ว
หนังสือท่องเที่ยวอุบลและลาวเป็นสิ่งที่ผมพยายามหาเล่มที่ให้ข้อมูลดีๆมาพกติดตัวไว้เพื่อความอุ่นใจ
ผมได้หนังสือเที่ยวอุบลเป็นของสำนักพิมพ์สารคดี ส่วนของลาวนั้นหาที่ถูกใจสบายกระเป๋าไม่ได้จริงๆ
เที่ยวลาวของ lonely planet ข้อมูลแน่นถูกใจมาก แต่ราคาเกือบพัน...
คิดแล้วคิดอีกสุดท้ายก็ไม่เอา ได้เพียงยืนอ่านและจำๆข้อมูลที่สำคัญไว้
ผมมาทราบเอาทีหลังครับว่าเราสามารถที่จะหาหนังสือ lonely planet มือสองราคาถูกได้ที่ตรอกข้าวสาร
เป็นของฝรั่งที่เที่ยวเสร็จแล้วมาขายไว้ครับ

จากที่เปิดๆดูในหนังสือ...
ผมวางแผนเที่ยวอุบลไว้คร่าวๆว่าจะแวะไปกินอาหารเช้าแปลกๆที่ตลาดใหญ่ เป็นตลาดหลักของตัวเมืองอุบลครับ
หลังจากนั้นจะไปขลุกตัวอยู่ที่พิพิทธภัณฑ์ประจำจังหวัด ตามด้วยวัดสำคัญๆรอบๆพิพิทธภัณฑ์อีก 3-4 วัดซึ่งคงจะหมดวันพอดี
การเดินทางในตัวเมืองอุบลจะมีรถสองแถววิ่งกันหลายสายคลุมพื้นที่หลักๆของตัวเมืองหมด
เพียงแค่รู้ว่าจะต้องขึ้นสายอะไรเท่านั้นก็สามารถเที่ยวอุบลได้อย่างสบาย
จากข้อมูลในหนังสือ ตลาดใหญ่จะมีสาย 12 ผ่าน
แต่... "ต้องขึ้นที่ใหนวะ" เป็นคำถามของผมที่หนังสือไม่มีคำตอบไว้ให้
เรื่องอย่างนี้ต้องคนท้องถิ่นเท่านั้น ผมจึงหันไปถามดำว่าผมจะต้องไปรอรถที่ใหน จึงจะพานพบรถสายนี้ได้
ได้คำตอบว่าไม่รู้ เนื่องจากปกติขับรถตัวเองไปทำงาน... -_-'
แต่ดำบอกว่าไม่ต้องห่วงเพื่อนน่าจะรู้เดี๋ยวถามให้ เนื่องจากเดี๋ยวเค้าจะนั่งรถไปทำงานพร้อมกัน
ดังนั้นดำจะไปปล่อยผมตรงจุดที่รถสองแถวผ่าน แล้วไปทำงานต่อ...

ตรงจุดที่ผมรอรถนั้นเป็นมหาลัยราชภัฏครับ อาคารตัวหอประชุมสวยดี


บรรยากาศโดยรอบของมหาลัยราชภัฏนั้น ร่มรื่นน่าเรียนเอาการ
นี่เป็นสิ่งที่ผมสัมผัสได้อยู่เสมอเวลาได้ไปเยือนสถานศึกษาตามต่างจังหวัด
ผมมักจะหวังอยู่เสมอว่าอยากให้มหาลัยเมืองกรุงคำนึงถึงพื้นที่สีเขียวให้มากกว่าที่เป็นอยู่
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศนั้น มักจะมาตามหลังนโยบายลดพื้นที่สีเขียวเพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่ทันสมัย
เอาไว้โชว์ให้คนภายนอกชื่นชมอยู่เสมอ แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสมันจริงๆ
ความทันสมัยเหล่านั้นหาได้ถูกใช้อย่างคุ้มค่ากับเงินทองที่ลงทุน พื้นที่สีเขียวที่ลดลงไม่
เสียดายครับ เสียดายจริงๆ ผมว่าพื้นที่สีเขียวนั้นเวลาเข้าไปอยู่มันทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เย็นใจได้
แถมยังมีผลทางอ้อมในการลดเสียงรบกวนจากรถยนต์ที่วิ่งรอบๆ สถานศึกษาได้อีก
มันจะช่วยให้นักศึกษามีสมาธิในการเรียนมากกว่าที่จะต้องเดินฝ่าแดด ฝุ่นควัน เสียงเครื่องยนต์
พอถึงห้องเรียน จิตใจสมาธิก็จะไม่ค่อยอยู่กับตัวเอา...

ผมเดินเก็บภาพสักพักก็มานั่งรอที่ป้ายรถ รอไม่นานรถก็มา
ด้วยความที่ผมเป็นคนมีพรสวรรค์ทางด้านหลงทางอย่างไม่ยอมให้ใครเหนือกว่า ทำให้ผมรู้ตัวว่าถ้าพลาดเหนื่อยแน่
ซึ่งก่อนหน้านี้ทุกครั้งเวลาเที่ยวจะอาศัยเพื่อนนำทางให้เสมอ
ครั้นพอมาเที่ยวคนเดียวทำให้ต้องตั้งสติและดูแผนที่อย่างตั้งใจอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ถ้ารถเลี้ยวซ้ายผมก็ต้องไล่เส้นทางในแผนที่ไปทางด้านซ้าย ถ้าเลี้ยวขวาผมก็ไล่แผนที่ไปทางด้านขวา
เป็นวิธีเอาตัวรอด ที่คิดว่าสบายๆ ไม่น่ายากๆ
ซ้ายๆ ขวาๆๆ ซ้าย ขวา ซ้ายๆ ขับตรงผ่านแยก ฯลฯ
เป็นเส้นทางที่รถวิ่งครับ มันเลี้ยวเร็ว เลี้ยวบ่อยเหลือเกิน รู้ตัวอีกทีไม่รู้อยู่ใหนแล้ว T_T
"เอาอีกแล้วไงกู" เป็นความคิดที่บ่งบอกว่าพรสวรรค์ผมเปล่งประกายอย่างห้ามไม่อยู่จริงๆ
อ๊ะๆ แต่สุดท้ายผมก็มาถึงตลาดใหญ่ อย่างไม่ต้องถามใครแถมยังลงถูกจุดอีก
แฮ่ม.. รถมันสุดสายที่ตลาดพอดีครับ

หลังจากลงรถผมเดินตรงไปด้านข้างของตลาด ตามคำบอกเล่าของหนังสือทันทีเพื่อที่จะไปลองลิ้มอาหารญวณ
เดินด้านข้าง.........ไม่เจอ สงสัยอยู่ด้านหน้า
เดินด้านหน้า......... ก็ยังไม่เจอ สงสัยอยู่ด้านหลัง
เดินด้านหลัง..........เอ๊ะไม่เจออีก สงสัยร้านปิด ผมตีความในแง่ดี
ท้องเริ่มร้อง สุดท้ายผมก็ได้อาหารแปลก ต้มเลือดหมู กับข้าวสวยครับ
อาศัยว่าเป็นอาหารแปลก(ที่)



ดวง
20070424 11:08

Sunday, April 1, 2007

รายชื่อหนังสือจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ๒๕๕o

เอารายชื่อหนังสือที่ซื้อมาลงไว้ครับ เผื่อสนใจอยากอ่านเล่มใหนจะได้ยืมถูกและไม่ซื้อซ้ำ ;-)

30 มีนา
1.) The Notebook(ปาฏิหารย์บันทึกรัก),Nicholas Sparks,จีรนันท์ พิตรปรีชา แปล,สำนักพิมพ์มติชน
2.) The Bookseller of Kabul(ถนนหนังสือสายคาบูล),Asne Seierstad,จีรนันท์ พิตรปรีชา แปล,สำนักพิมพ์มติชน
3.) ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง,วรากรณ์ สามโกเศศ,สำนักพิมพ์มติชน
4.) สนุกกับของไม่ฟรี,วรากรณ์ สามโกเศศ,สำนักพิมพ์มติชน
5.) The man who knew infinity(รามานุจัน อัจฉริยะไม่รู้จบ),Robert Kanigel,นรา สุภัคโรจน์ แปล,สำนักพิมพ์มติชน

3 เมษา
6.) ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา,ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์,สำนักพิมพ์โอเพ่น
7.) การเมืองของไพร่,พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์,สำนักพิมพ์โอเพ่น
8.) พระราชอำนาจ องคมนตรี และผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ,ปิยบุตร แสงกนกกุล,สำนักพิมพ์โอเพ่น
9.) October 6,สำนักพิมพ์โอเพ่น
10.) รัฐประหาร 19 กันยา รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข,สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
11.) พรมแดนทดลอง,มุกหอม วงศ์เทศ,สำนักพิมพ์โอเพ่น
12.) Mailbox,โตมร สุขปรีชา,สำนักพิมพ์โอเพ่น
13.) ทัศนะว่าด้วยการศึกษา,ป๋วย อึ๊งภากรณ์,สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
14.) ทัศนะว่าด้วยการเมืองและจริยธรรม,ป๋วย อึ๊งภากรณ์,สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
15.) กุญแจเซ็น,ติช นัท ฮันห์,พจนา จันทรสันติ แปล,สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
16.) ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า กับชะตากรรมของสังคมมนุษย์,จาเร็ด ไดมอนด์,อรวรรณ คูหเจริญ แปล,สำนักพิมพ์คบไฟ
17.) The Death of VISHNU(ความตายของวิษณุ),Manil Suri,นรา สุภัคโรจน์ แปล,สำนักพิมพ์มติชน

5 เมษา
18.) ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองไทยในการปฏิรูปสยาม 2475,นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
19.) หลายชีวิต จิตรภูมิศักดิ์,วิชัย นภารัศมี,สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
20.) แสงใต้ในมรสุมt,วีรศักดิ์ จันทร์ส่องแสง,สำนักพิมพ์สารคดี
21.) เดินสู่อิสรภาพ,ประมวล เพ็งจันทร์,สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
22.) อานาปานสติ,พุทธทาสภิกขุ,สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

หมดแล้วครับ... ทั้งหนังสือที่ซื้อ ทั้งเงินที่มี...
คงจะพักซื้อหนังสือไปได้พักใหญ่
แต่คงจะยืมหนังสือจากห้องสมุดต่อ...
เอาไว้ปลายปีค่อยว่ากันใหม่ :-)

ดวง

ตอบความคิดเห็นของพี่ IKKE ในเรื่อง ความสับสนของสังคมไทยตอน 1

ตอบความคิดเห็นของพี่ IKKE ในเรื่อง ความสับสนของสังคมไทยตอน 1

ตอนแรกว่าจะตอบใน comment แต่เขียนแล้วมันยาว เลยเอามาลงเลยดีกว่า จะอ่านง่ายกว่า
พี่ IKKE ครับขอบคุณสำหรับความคิดเห็นดีๆ นะครับ :-)

ผมขอขยายความความคิดผมเพิ่ม (แก้ไขเพิ่มเติม 20070403)
ผมเชื่อว่าสภาพแวดล้อมต่างๆกันทำให้เกิดความเสียสละต่างกัน... ซึ่งสิ่งที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของความเสียสละหรือการร่วมมือโดยส่วนรวมนั้น ต้องมีอย่างน้อย 2 อย่างคือ ปัจจัยพื้นฐานและความเป็นอิศระเสรีต่อการดำรงชีวิต กับสิทธิ์การรับทราบข้อมูลอย่างเท่าเทียม
ที่บอกว่าอย่างน้อยเพราะผมนึกออกเพียงสองข้อ แต่เข้าใจว่าน่าจะต้องมีอย่างอื่นที่มองไม่เห็นประกอบเพิ่มอีก...

ก.) ความจำเป็นที่จะต้องมีปัจจัยพื้นฐานและเสรีในการดำรงชีวิตนั้นเป็นพื้นฐานต่อการดำรงตน จะรวมตั้งแต่ปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ เช่นการมีสิทธิที่จะสามารถเลือกทำงานตามความต้องการของตนได้ สิทธิที่จะออกจากที่ทำงานได้ถ้าไม่ต้องการ สิทธิในการออกความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งถ้าสิ่งข้างต้นลดลงไปแล้วนั้น จะทำให้เกิดการปกป้อง เห็นแก่ตัวตนและชีวิตของตนเองสูงขึ้น โดยที่การเสียสละต่อส่วนรวมจะลดลงอย่างสัมพันธ์กัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอัตราเท่ากัน ในกรณีนี้ชีวิตทาสก็เช่นกัน ด้วยสถาณการณ์ที่จะต้องทำงานตามคำสั่ง ขาดซึ่งอิศระเสรีภาพต่อการดำรงตน ขาดความมั่นใจในชีวิตตนว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ ทำให้จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการมีชีวิตอยู่ของตนก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าทาสร้อยคนจะเป็นดังที่คาดทุกคน จะมีเป็นกรณีพิเศษบ้างในกลุ่มที่เชื่อในบางสิ่งเหนือชีวิตตน เช่น เทพเจ้า ลัทธิ อุดมการณ์ หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก

ข.) สิทธิเสรีในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียม การเสียสละจะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีเสรีในการที่จะทราบถึงเหตุที่จะต้องทำการเสียสละก่อน เช่น ขัดสน อดอยาก ขาดแคลน ในกรณีของซาดองโยที่ได้รับทราบข้อมูล ความรู้ มาก่อนหน้านี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าเขื่อนอาจจะพังทลายลงมาได้ ถ้าสร้างไม่ถูกวิธีนั้น ทำให้เขาเลือกที่จะเตือนไปยังองค์หญิง ซึ่งต่างกับทาสคนอื่นที่ไม่ทราบถึงข้อมูลตรงนี้ แต่ในกรณีของการแจ้งข้อมูลไปยังทาสคนอื่น เพื่อก่อให้เกิดความเสียสละ แต่ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดได้ เพราะในสถาณการณ์ของการเป็นทาสที่ขาดสิทธิการดำรงตนไปแล้วนั้น จะไม่เอื้ออำนวยต่อการรับสารที่ทำให้เขาต้องมีชีวิตลำบากขึ้นแน่นอน ซึ่งต่างกับซาดองโยที่ผมคาดว่าเขามีความรู้พวกนี้ตั้งแต่ก่อนเป็นทาสทำงานสร้างเขื่อน
ถ้ามองในแง่ร้าย ซาดองโยเองก็คงไม่อยากสร้างเขื่อนและไม่อยากตายถ้าเขื่อนพังทลายลงมา จึงจำเป็นต้องบอกองค์หญิงว่าเขื่อนอาจจะพังได้ถ้ายังดันทุรังสร้างต่อไป


ผมเชื่อเหมือนพี่ IKKE ว่าการเสียสละส่วนใหญ่นั้นเป็นการเสียสละที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะต่างหวังผลตอบแทน ตามหลักของเศรษฐศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าเป็น Dismal science หรือศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง เพราะยืนยันว่าทุกอย่างมีต้นทุน จะได้อะไรมาต้องเอาบางสิ่งหรือหลายสิ่งไปแลกเสมอ แต่ผมเชื่อในกรณีของสังคมเมืองหรือสังคมขนาดใหญ่ครับ
จากสิ่งที่ผมได้รับมาเวลาเดินทางไปเที่ยวตามชนบท ทำให้ผมยังเชื่อว่ายังมีสังคมที่มีการเสียสละที่บริสุทธิ์อยู่ในโลก และเมื่อคนไม่ได้เป็นสัตว์เศรษฐกิจทุกคน สังคมที่ไม่ได้เป็นสังคมสัตว์เศรษฐกิจก็น่าจะมีอยู่บ้าง ทั้งนี้สังคมนั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 อย่างข้างต้น

โดยถ้าวิเคราะห์ความเสียสละแบบแบบไม่บริสุทธิ์ จะเห็นได้ว่าค่อนข้างอ่อนไหว เสียหายง่ายมาก ถ้าต้นทุนที่ต้องจ่ายไม่คุ้มกับผลที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่น การต่อแถวขึ้นรถไฟฟ้าถ้าทุกคนต่อแถวหมด ซึ่งถือว่าเป็นการเสียสละต่างตอบแทนเช่นกันเพราะเขาเสียสละที่จะไม่แซงคิวเพื่อที่จะได้รับอันดับเข้ารถอย่างสมควร แต่ถ้ามีอยู่คนหนึ่งแทรกแถวเข้าไปก่อน มันง่ายมากที่จะทำให้คนต่อแถวอยู่ข้างหลังที่เขาคิดว่าการเสียสละไม่คุ้มกับอันดับที่จะเข้ารถแถมยังถูกแซงอีก ซึ่งเขาอาจจะไม่ได้นั่ง ทำให้เขาตัดสินใจแทรกตามไปด้วย
ดังนั้นถ้าเราต้องการจะให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เราจำเป็นที่จะต้องมีกระแสสังคมคอยบังคับให้เกิดความเป็นระเบียบ เช่น การตักเตือน หรือการสั่งสอน หรืออาจรุนแรงกว่านั้น เพื่อทำให้รายจ่ายที่เขาต้องได้รับถ้าต้องการจะแซงสูงขึ้น เมื่อรายจ่ายสูงขึ้นการจัดสินใจแซงก็จะลดลง

สังคมไทยในตัวเมืองนั้นพัฒนามาจากสังคมชนบทในสมัยก่อน ดังนั้นการเสียสละแบบบริสุทธิ์ตามแบบของสังคมชนบทที่ผมเชื่อ จึงผสมกับการเสียสละแบบไม่บริสุทธ์ของสังคมเมืองสมัยใหม่ที่ก้าวเข้ามา ทำให้สังคมไทยยังคงเป็นสังคมที่ผสมของความเสียสละ ยังให้เกิดความสับสนของคนในสังคม หรือไม่ผมก็สับสนของผมคนเดียว ;-)

โดยพื้นฐานแล้วผมไม่คิดว่าโลกเราจะมองได้เหมือนเหรียญที่มองได้เพียงสองหน้า ...โลกเรามันกลมนะครับ... แม้ว่าจะมีคนออกมาประกาศว่า The world is flat ก็ตาม :-)

อ้างอิง
1.) ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง :วรากรณ์ สามโกเศศ:สำนักพิมพ์มติชน มีนาคม ๒๕๕o














ดวง
20070401 10:06

 
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial 3.0 Thailand License.